6 เทคนิคจดจำคำศัพท์ได้ขึ้นใจโดยไม่ท่องจำ

6 of the best vocab memorization techniques endorsed by science

หนึ่งในความท้าทายลำดับต้น ๆ ของคนเริ่มเรียนภาษาทุกคนก็คือการเพิ่มคลังคำศัพท์ให้กับตัวเอง
.
ดูเหมือนจะเป็นอุปสรรคอันใหญ่หลวงในชีวิตประจำวันเมื่อคุณเจอคำศัพท์ใหม่ ๆ แต่กลับลืมความหมายมันไปหลังเวลาผ่านไปไม่นาน ยังไม่นับการแยกเพศคำนามในบางภาษา อย่างเช่นภาษาเยอรมัน ที่ผู้เรียนอาจจะสับสนในทุกวันว่า ‘printer’ ต้องเป็น die Drucker หรือ der Drucker กันแน่นะ?
.
แต่วันนี้ Berlitz มี 6 เทคนิคง่าย ๆ ที่บรรดาคุณครูเจ้าของภาษาของเรามักนำเสนอให้แก่ผู้เรียน  เพื่อที่จะช่วยให้คุณสามารถจดจำคำศัพท์เหล่านั้นได้ขึ้นใจภายในเวลาอันรวดเร็วแต่ฝังอยู่ในหัวไปตลอด แล้วคุณจะแปลกใจเลยว่าหลังจากนี้คุณจะเลิกพฤติกรรมท่องจำคำศัพท์ซ้ำไปซ้ำมาทุกวัน มากไปกว่านั้นยังนำไปใช้ในบทสนทนาในชีวิตจริงได้อีกด้วย
.
ก่อนอื่นมาศึกษาดูก่อนว่าสมองของเราทำงานอย่างไรในการจดจำคำศัพท์
.
กระบวนการจดจำสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทคือ ‘ความจำโดยปริยาย หรือ implicit memory’ และ ‘ความจำชัดแจ้ง หรือ explicit memory’ โดยความจำโดยปริยายคือกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เกิดจากทักษะ ไม่ได้เกิดจากการระลึกถึงโดยตั้งใจ เช่นทักษะการขี่จักรยาน ซึ่งใครขี่เป็นแล้วก็จะเป็นทักษะติดตัวไปตลอด ส่วนความจำชัดแจ้งคือการระลึกถึงหรือกระบวนการเรียกคืนความทรงจำในอดีต อย่างเช่นเมื่อมีคนถามว่าฟุตบอลโลกครั้งที่ผ่านมาชาติไหนเป็นแชมป์ หรือเมื่อมีคนถามถึงชื่อเพื่อนใหม่ที่เรารู้จักได้ไม่นาน
.
ความจำชัดแจ้งมีบทบาทอย่างสูงเมื่อเริ่มต้นเรียนรู้ภาษาใหม่ ๆ ช่วงแรกใครหลายคนต่างประสบปัญหาจดจำคำศัพท์ไม่ได้ นั่นเป็นเพราะคำใหม่ ๆ จะถูกบรรจุไว้ใน ‘คลังความจำเพื่อใช้งาน (working memory store)’ ที่ทำหน้าที่จดจำข้อมูลและจัดระบบไว้ในคลังสมองแต่คำศัพท์เหล่านั้นยังไม่พร้อมสำหรับคลังความจำระยะยาว (long-term memory store)
.
การพยายามจดจำคำศัพท์โดยการท่องจำก็เหมือนกับเราพยายามจำค่าพาย (Pi) ที่มีตัวเลขทศนิยมไม่รู้จบ เพราะมันเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะจดจำชุดตัวเลขทศนิยมเหล่านั้นและสามารถตอบมันได้ทันทีเมื่อมีคนถาม นั่นเป็นเพราะคลังความจำเพื่อใช้งานของเรามีพื้นที่จำกัด ซึ่งโดยปกติแล้วจะจดจำข้อมูลได้ในทีเดียวประมาณ 7 อย่างโดยเฉลี่ย (ยกเว้นว่ามีรูปภาพประกอบเข้ามาช่วย) เมื่อข้อมูลเหล่านั้นผ่านเข้ามาในหัวซ้ำ ๆ ก็จะถูกส่งต่อไปยังความทรงจำระยะยาว และเราก็จะนึกคำศัพท์เหล่านั้นได้อย่างรวดเร็วแทบจะทันทีเมื่อต้องการสื่อสาร
.
การจดจำคำศัพท์ในภาษาต่างชาติในช่วงแรกจะถูกจัดอยู่ในประเภทความจำชัดแจ้ง ตราบใดที่คำศัพท์เหล่านั้นยังไม่ถูกส่งต่อจากคลังความจำเพื่อการใช้งานไปยังคลังความจำระยะยาว ก็จะเป็นการยากในการนึกคำศัพท์เหล่านั้น หากคุณกำลังประสบปัญหาการจำคำศัพท์และกำลังอ่านบทความนี้อยู่ล่ะก็อย่ากังวลไป เราแค่อธิบายให้ฟังถึงกระบวนการจดจำที่สมองเราทำงาน

1.    Background Method

วิธีการนี้ถูกนำเสนอโดยอาจารย์สอนภาษาที่ Vinnytsia National University ในประเทศยูเครน ที่ดัดแปลงมาจากวิธีการจดจำแบบคลาสสิกที่เรียกว่า ‘Method of Loci’ (หรือหลายคนอาจจะรู้จักในชื่อ ‘memory palace’) ที่จะให้ผู้เรียนจินตนาการว่าเรานำคำศัพท์ที่เพิ่งเรียนรู้มาไปวางไว้ตามจุดต่าง ๆ ในบ้านซึ่งเป็นสภานที่คุ้นเคย ทำให้สอมงสามารถจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.
เนื่องจากเราได้นำคำศัพท์ใหม่ ๆ ไปจินตนาการวางไว้ตามจุดต่าง ๆ ในบ้านแล้ว ทำให้เราผูกคำไว้กับบริบทต่าง ๆ แล้วในยามที่เราต้องการนำมาใช้ในบทสนทนา ก็แค่เพียงจินตนาการย้อนในหัวว่าคำศัพท์นั้นวางอยู่จุดไหนในบ้านและหยิบมันมาใช้
.
Background Method ก็มีลักษณะคล้ายกัน แต่ต่างกันตรงที่เรานำคำศัพท์ไปวางไว้ตามสภาพแวดล้อมหรือสถานที่ ๆ เราคุ้นเคยแทน ทำให้เราสามารถเรียกคืนคำศัพท์ในคลังได้รวดเร็วขึ้น

2.    Associative learning

หนึ่งในลักษณะเฉพาะของสมองมนุษย์คือความสามารถในการเรียนรู้แบบเชื่อมโยง เราสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเมื่อข้อมูลถูกวางไว้ตามบริบทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ อารมณ์ กายภาพ หรือจิตใจ
.
Associative learning จะทำให้สมองเรามีสองทางเลือกในการเรียกคืนความจำเกี่ยวกับศัพท์หนึ่งคำ ทางเลือกแรกก็คือความหมายในตัวของคำศัพท์นั้น กับอีกทางหนึ่งคือความทรงจำที่เกี่ยวข้องกับศัพท์คำนั้น (เช่นเคยได้ยินคำศัพท์นั้นในบทเพลง) นั่นช่วยเร่งให้คำศัพท์คำนั้นถูกส่งไปยังคลังความจำระยะยาวเร็วขึ้นสองเท่า
.
คุณอาจเริ่มต้นด้วยการเขียนคำศัพท์ลงไปใน flashcard และลองยกตัวอย่างการใช้คำลงไปในรูปประโยค และสร้างจุดเชื่อมโยงสำหรับคำนั้นและเขียนจุดเชื่อมโยงลงไปในอีกด้านหนึ่งของ flashcard ยกตัวอย่างเช่นถ้าคุณกำลังเรียนภาษาฝรั่งเศส คุณอาจะเขียนคำว่า ‘le truc’ ที่แปลว่าสิ่งของลงไปด้านหนึ่งของ flashcard และในเมืองการออกเสียงคล้าย ๆ กับคำว่า ‘trunk’ ที่แปลว่าหีบใส่ของหรืองวงก็ได้ในภาษาอังกฤษ คุณก็อาจจะวาดภาพงวงช้างลงไปอีกด้านหนึ่งของการ์ด เมื่อไรก็ตามที่เราเจอคำว่า le truc ในภาษาฝรั่งเศส เราก็จะนึกถึงภาพงวงช้างไว้ในหัวจนไปกระตุกความทรงจำในหัวว่าแปลว่าแปลว่าสิ่งของ

3.    The Mimicry Method

วิธีการนี้มุ่งไปที่เสียงและความลื่นไหลของภาษา โดยสมองจะจดจำคำศัพท์ผ่านการฟังและการโต้ตอบ
.
สำหรับวิธีการนี้แนะนำว่าผู้เรียนควรเข้าไปโต้ตอบกับเจ้าของภาษาให้ได้เร็วที่สุด (หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ‘immersion method’) และสิง่สำคัญที่สุดคือผู้เรียนต้องเลิกใฝ่หาความหมายของคำศัพท์จากการเปิด dictionary ท่องจำโดยการพูดซ้ำ ๆ หรือเขียนคำทับศัพท์ในภาษาไทยลงไป
.
หลังจากนั้นคุณจะจดจำคำศัพท์ผ่านบริบท ความรู้สึก ภาพจำ และความเชื่อมโยงกับบทสนทนาในอดีต แนวคิดของวิธีการนี้คือการจับคู่กันระหว่างเสียงของคำศัพท์กับสถานการณ์ตอนที่คุณได้ยินมัน โดยเราจะสามารถนำไปใช้ผ่านการเลียนแบบเสียงและการลื่นไหลของบทสนทนาที่เราเคยเจอ

4.    Gamify your learning

จากการศึกษาพบว่าการสร้างเกมส์สำหรับเรียนรู้ภาษาต่างประเทศจะช่วยให้จำคำศัพท์ได้รวดเร็วมากขึ้น จากงานวิจัยในประเทศอินโดนีเซียพบว่า ‘condemn game’ จะสามารถช่วยในการจดจำคำศัพท์ในภาษาอังกฤษได้มากขึ้น
.
โดย ‘condemn game’ เป็นการแบ่งผู้เล่นออกเป็นสองทีม โดยแต่ละทีมต้องมอบหมายให้หนึ่งคนเป็น ‘Spymaster’ ผู้มอบคำใบ้โดยการชี้ไปที่คำศัพท์หลากหลายคำที่อยู่บนบอร์ด ในขณะที่สมาชิกในทีมต้องเดาคำที่เป็นของทีมตัวเองโดยหลีกเลี่ยงตอบคำศัพท์ของฝั่งตรงข้าม นั่นจะทำให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการจดจำคำศัพท์มากขึ้น
.
การสร้างเกมส์ขึ้นมาเพื่อช่วยจดจำคำศัพท์เป็นส่วนหนึ่งหนึ่งของการเรียนแบบมีส่วนร่วม (active learning) ที่จะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง รวมถึงการมีปฏิสัมพันธ์ในสังคม อารมณ์ การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ การมองเห็น และการได้ยิน ซึ่งแตกต่างจากการเรียนแบบตั้งรับ (Passive learning) ที่ผู้เรียนจะเน้นรับสารข้อมูลผ่านผู้สอนหรือการท่องจำผ่านตัวหนังสือโดยไม่มีปฏิสัมพันธ์นำไปใช้ในชีวิตจริงแต่อย่างใด การเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้เกมส์เป็นสื่อจึงไม่ใช่แค่ช่วยให้การเรียนสนุกมากขึ้น หากแต่ยังช่วยให้จดจำคำศัพท์ได้รวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย

5.    Make it embodied

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยตูลูส (University of Toulouse) พบว่าการได้สัมผัสกับสิ่งของทางกายภาพจะช่วยให้จดจำคำศัพท์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการศึกษาพฤติกรรมนักเรียนในประเทศรวันด้าที่กำลังเรียนภาษาฝรั่งเศสอยู่พบว่า การได้สัมผัสวัตถุในทางกายภาพจะทำให้ตำคำศัพท์ได้เร็วขึ้นมากกว่าจดจำผ่านรูปภาพ  นักวิจัยพิจารณาแล้วว่าเป็นเพราะการมีประสบการณ์ทางกายภาพช่วยให้ร่างกายเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้
.
การสัมผัสและถือวัตถุจริงนอกจากจะช่วยให้ได้ใช้คำศัพท์ในชีวิตจริงแล้ว ร่างกายยังมีส่วนร่วมในการช่วยจดจำ แต่หลายคนอาจมีคำถามตามมาว่าแล้วคำที่เป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้อย่างเช่นคำว่า ‘justice’ จะใช้วิธีจำอย่างไร ซึ่งในกรณีดังกล่าวผู้เรียนอาจจะต้องใช้วิธี 1-4 ที่เราได้นำเสนอไปแล้วมาปรับใช้ควบคู่กันไป

6.    Music and songs

งานวิจัยพบว่าบทเพลงก็เป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กับคำศัพท์ใหม่ ๆ คำศัพท์ที่ปรากฏอยู่ในคำร้อง (หรือแม้แต่บทกวีที่ไม่มีทำนอง) ทำให้สมองสร้างโครงสร้างจังหวะสำหรับจัดระเบียบข้อมูลที่เพิ่งได้รับมา การจดจำจังหวะจะงทำให้สมองทำงานได้ง่ายขึ้นกว่าการท่องจำ ดังนั้นเมื่อเรารับรู้คำศัพท์ผ่านทำนองเพลง เราจะสามารถจดจำคำเหล่านั้นได้โดยการนึกทำนองในหัว
.
ยิ่งจังหวะไหนไพเราะ เราฟังแล้วรื่นหู ก็จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการจำมากขึ้นไปอีก ในความจริงแล้วการจดจำผ่านเสียงเพลงนั้นมีความยืดหยุ่นกว่ารูปแบบการจำระยะยาวอื่น ๆ รวมถึงยังช่วยผู้ป่วยที่มีอาการความจำเสื่อมและอัลไซเมอร์อีกด้วย ยิ่งตอกย้ำมากขึ้นว่าคงไม่มีวิธีอื่นที่ดีไปกว่าการจำด้วยบทเพลงอีกแล้ว
.
นอกจากการเรียนคำศัพท์ผ่านเสียงดนตรีแล้ว ยังช่วยให้เราเรียนรู้คำศัพท์ผ่านบริบทของเพลงอีกด้วย รวมถึงช่วยพัฒนาการออกเสียง และลดการเรียนรู้แบบเดิม ๆ ถูกแทนที่ด้วยรูปประโยคสนทนาในภาษาที่กำลังเรียนอยู่  แล้วทีนี้ด้วยเพลงที่มีอยู่หลากหลาย เพลงลักษณะไหนจะเหมาะกับการเรียน?
.
เลือกเพลงในภาษาเป้าหมายที่ง่ายต่อการร้องตาม เขียนเนื้อร้องลงในกระดาษและหัดร้องตามไปด้วยจนสามารถร้องตามได้โดยไมjต้องดูเนื้อ (ห้ามโกงนะ!) มันจะพิเศษมากขึ้นอีกหากคุณสามารถเล่นเครื่องดนตรีชนิดไหนก็ตามแล้วบรรเลงไปพร้อมกัน ทำให้ระบบสั่งการของคุณทำงานมากขึ้น เป็นแขนงหนึ่งของการเรียนเชิงปฏิบัติ
.
การจดจำคำศัพท์ใหม่ ๆ อาจดูน่ากังวลในช่วงแรก แต่อย่ากัลป์วงลไป เพราะคุณสามารถจดจำมันพร้อมสนุกไปกับวิธีการอันหลากหลายที่เรานำมาเสนอในวันนี้
.
เคล็ดลับสำคัญสุดอีกหนึ่งอย่างคืออย่ารีบร้อนจนเกินไปและสนุกไปกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เมื่อไรที่เราสนุกไปกับมัน เมื่อนั้นเราก็จะจำมันได้โดยไม่ต้องพยายามเลยสักนิดเดียว การเรียนภาษากับ Berlitz ก็เช่นเดียวกัน เพราะวิธีการต่าง ๆ ที่เรานำมาเสนอในวันนี้ เรานำมาใช้และต่อยอดในรูปการเรียนการสอนแบบเฉพาะตัวมานานมากกว่า 140 ปีแล้ว! ซึ่งเราเรียกวิธีการเหล่านี้ว่า Berlitz Method ซึ่งในแต่ละคลาสผู้เรียนจะลืมความกังวลเรื่องกำแพงภาษาไปได้แบบปลิดทิ้ง และพร้อมเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ ผ่านบทสนทนาและกิจกรรมที่ครูเจ้าของภาษานำมาเสนอแบบไม่ซ้ำในแต่ละวัน ทำให้ผู้ที่เรียนภาษากับ Berlitz สามารถใช้ภาษาได้อย่างคล่องและมั่นใจอย่างเห็นได้ชัดหลังจบหลักสูตร

โปรโมชั่น! ลงทะเบียนเรียนภาษากับเราวันนี้ รับคลาสเรียนเสริม 10-15%! จากคอร์สเรียนทั้งหมด (เช่น ลงทะเบียน 1 คอร์สมี 40 คาบ ได้เรียนเพิ่ม 4 คาบ)