ベルリッツタイジャーナル
In today’s competitive job market, many employers are looking for individuals who are able to speak more than one language. Increasing globalization means that the demand for people who can communicate across borders is higher than ever. Learning another language...
読み続けて
ถ้าหากประเทศไทยมีวันไหลของวันสงกรานต์ที่ผู้คนยังเล่นน้ำกันอยู่แม้จะพ้นช่วงเทศกาลมาแล้ว ชาวคริสต์เองก็มีวันไหลของวันคริสต์มาสเช่นกัน โดยรู้จักกันในชื่อว่า ‘Boxing Day’ หรือ ‘วันเปิดกล่องของขวัญ’ ซึ่งตรงกับวันที่ 26 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันที่ผู้คนได้แกะกล่องของขวัญหลังจากฉลองวันคริสต์มาส และยังเปิดโอกาสให้ผู้คนได้ออกเดินทางกลับสู่ภูมิลำเนาหรือออกไปทำกิจกรรมร่วมกันกับคนในครอบครัวอีกด้วย แล้ววันที่น่ายินดีเช่นนี้มีต้นกำเนิดจากไหนกัน? มีหลากหลายข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับที่มาของวัน Boxing Day และยังคงเป็นประเด็นถกเถียงจนถึงทุกวันนี้ถึงความเป็นมาที่แท้จริง แต่ก็ยังไม่มีทฤษฎีไหนได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นจุดกำเนิดที่ผู้คนเริ่มมอบของขวัญให้แก่กัน โดยจุดร่วมเดียวกันของตำนานอันหลากหลายส่วนใหญ่จะมีต้นกำเนิดเทไปทางประเทศสหราชอาณาจักร เนื่องจากวันที่ 26 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันหยุดราชการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1871 แล้ว บางตำนานเล่าว่าเริ่มต้นขึ้นจากชาวยุโรปในยุคกลาง (คริสต์ศตวรรษที่ 5 – 15) ที่มอบเงินและของขวัญให้แก่ผู้ยากไร้ในช่วงคริสต์มาส หรือบ้างก็ว่ามีที่มาจากประเทศอังกฤษและประเทศในเครือจักรภพช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ซึ่งกำหนดให้วันที่ 26 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันหยุดประจำปี (Bank Holidays) โดยนายจ้างจะแจกกล่องของขวัญให้แก่ลูกจ้างหรือผู้รับใช้เพื่อแทนการของคุณตลอดทั้งปีที่ผ่านมา อีกตำนานหนึ่งซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเทศสหราชอาณาจักรเล่าว่ากษัตริย์เวนเซสลาส...
読み続けて
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 กำลังจะเข้าสู่ปีที่สาม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาธุรกิจหลายภาคส่วนล้วนปรับตัวเพื่อให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้บนข้อจำกัดอันท้าทาย การปรับตัวในช่วงแรกของการแพร่ระบาดที่หลายบริษัทเริ่มใช้ก็คือการอนุญาตให้พนักงาน work from home เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ด้วยความที่มาตรการดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้เป็นระยะเวลานานตามสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ทำให้พนักงานหลายคนเกิดความเคยชินในการทำงานนอกออฟฟิศ รวมทั้งบริษัทเองก็พึงพอใจถ้าตราบใดที่ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานไม่ต่างจากการเข้าออฟฟิศ รวมถึงช่วยลดเวลาบนท้องถนนแก่พนักงานและมลภาวะไปพร้อมกัน จนเกิดกระแสใหม่ของการทำงานที่คาดว่าจะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในปี 2022 เรียกว่า ‘Hybrid Working’ อะไรคือ Hybrid Working? Hybrid Working คือการทำงานที่พนักงานสามารถเลือกสถานที่ทำงานได้ตามเนื้องานแต่ละวันระหว่าง co-working space, คาเฟ่, บ้าน, หรือออฟฟิศของบริษัทแทนการทำงานที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวันก่อนยุคโควิด-19 ผลการสำรวจของ IWG (International Workplace Group) ระบุว่า 77% ของพนักงานต้องการสถานที่ทำงานที่ใกล้กับที่พักอาศัย เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ work-life balance...
読み続けて
ประเด็นร้อนในโลกออนไลน์ตอนนี้คงหนีไม่พ้นการเปลี่ยนชื่อบริษัทของ Facebook หลังจากที่ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งประกาศในการประชุมประจำปีว่าชื่อบริษัท Facebook ที่ถูกใช้มาอย่างยาวนานกำลังจะถูกเปลี่ยนเป็น ‘Meta’ เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางของบริษัทที่กำลังให้ความสำคัญกับโลก Metaverse มากกว่าโซเชียลมีเดีย แล้ว Metaverse คืออะไร? เรามาดูความหมายของคำนี้กันก่อน Metaverse เกิดจากการผสมคำระหว่าง ‘Meta’ กับ ‘Universe’ โดย Meta- มีหน้าที่เป็น prefix ความหมายใน Cambridge dictionary กล่าวไว้ว่า ‘outside the normal limit of something’ หรือ ‘สิ่งที่อยู่เหนือขีดจำกัด’ ส่วน Universe แปลว่า ‘จักรวาล’ เมื่อนำสองคำมารวมกันจะแปลได้ก็คือ ‘โลกที่อยู่เหนือความจริง’ แต่สำหรับ Metaverse ในความหมายที่เป็นโปรเจ็คใหญ่ของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก นั้นคือโลกเสมือนจริงที่ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ผ่านตัว Avatar ที่คล้าย ๆ กับการใช้คาแรกเตอร์ในเกมส์แต่เราสามารถควบคุมตัวละครของเราได้ใกล้เคียงกับความจริงมากที่สุดและยังสามารถประชุมงาน ท่องเที่ยว หรือสังสรรค์ไปกับเพื่อนของเราผ่านระบบ VR (Virtual reality) และ AR (Augmented reality) ถึงแม้ว่าผู้ใช้งานแต่ละคนจะอยู่กันคนละที่ก็ตาม ฟังดูแล้วการใช้งานบนโลกเสมือนจริงน่าจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษย์ในอนาคตได้ไม่มากก็น้อย เห็นได้จากกิจกรรมในยุคโควิด-19 เราต้องประชุมงานกันผ่านทางระบบออนไลน์หรือบางคนไม่สามารถออกไปสังสรรค์กับเพื่อนได้ ก็เลือกที่จะเปิดกล้องวิดิโอคอลแล้วรับประทานอาหารไปพร้อมกันผ่านทางหน้าจอแทน ซึ่ง Metaverse จะช่วยให้อุปสรรคในด้านการเดินทางหายไป การประชุมงานผ่านระบบออนไลน์จะไม่มีหน้าจอมาขวางกั้น เราสามารถนั่งพูดคุยกันจากที่บ้านได้เสมือนจริง ทำให้สามารถสัมผัสได้ถึงอากัปกิริยาและน้ำเสียงของคู่สนทนาได้มากขึ้น คุณประโยชน์ของ Metaverse ซึ่งคาดว่าจะถูกนำไปใช้ในการทำงานและสังสรรค์แล้ว อีกหนึ่งกิจกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์จากโลกเสมือนจริงนี้ได้นั่นก็คือการศึกษา ทุกวันนี้นักเรียนหลายคนสามารถเรียนผ่านระบบออนไลน์ได้ก็จริง แต่การใช้ประโยชน์จาก Metaverse อาจจะช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพราะผู้สอนจะมีอุปกรณ์และสื่อในการสอนแบบไม่จำกัด ผู้เรียนเองก็จะได้รับประโยชน์จากกิจกรรมที่หลากหลายมากกว่าการเรียนผ่านสื่ออย่างหนังสือเรียน ปัจจุบันที่ Berlitz เรามีคอร์สออนไลน์สดที่ผู้เรียนสามารถเรียนภาษากับอาจารย์เจ้าของภาษาได้จากที่บ้าน ซึ่งนอกจากมอบความสะดวกสบายให้กับผู้เรียนแล้ว การเรียนออนไลน์ผ่านโปรแกรม Newrow ที่ Berlitz จะช่วยเปลี่ยนห้องของคุณให้กลายเป็น Virtual Classroom ที่อาจารย์ผู้สอนจะสามารถใช้สื่อการเรียนที่หลากหลายมากกว่าเห็นหน้ากันและแชร์หน้าจอ แต่เราลองจินตนาการว่าถ้าหากในอนาคต Metaverse ได้ถูกพัฒนาขึ้นจะส่งผลต่อการเรียนภาษามากน้อยขนาดไหน การเรียนภาษาออนไลน์สดแบบไม่มีหน้าจอมาขวางกั้น เราสามารถเห็นอากัปกิริยาของครูเจ้าของภาษาไปพร้อมกับการออกเสียงที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น หรือบางทีอาจารย์เจ้าของภาษาอาจจะพาผู้เรียนไปยังประเทศบ้านเกิดของเขา เพื่อให้เราเรียนรู้วัฒนธรรมและยังได้ท่องเที่ยวในโลกเสมือนจริงพร้อมกับการเรียนภาษาอีกด้วย ถึงแม้ว่าโดยปกติแล้วการเรียนภาษาที่ Berlitz ผู้เรียนจะได้สนทนาภาษาเป้าหมายกับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเจ้าของภาษาตลอดคาบเรียนพร้อมไปกับการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเปรียบเสมือนอยู่ในประเทศที่ใช้ภาษาเป้าหมายอยู่แล้ว แต่ถ้าในอนาคตเราสามารถเรียนภาษาฝรั่งเศสกับอาจารย์เจ้าของภาษาขณะที่เยี่ยมชมหอไอเฟล หรือดื่ม Afternoon tea กับอาจารย์ชาวอังกฤษที่ถนนอ็อกฟอร์ด ในกรุงลอนดอนเสมือนจริง น่าจะทำให้การเรียนภาษาใหม่ ๆ น่าตื่นเต้นมากกว่าเดิมใช่ไหมคะ แค่คิดก็น่าสนุกแล้วว่า Metaverse จะเข้ามาเปลี่ยนการเรียนภาษามากน้อยเพียงใด...
読み続けて
‘PC’ ในบริบทของคนทั่วไปอาจจะเข้าใจว่าหมายถึง ‘personal computer’ หรือ ‘คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล’ ที่เราใช้งานกันในชีวิตประจำวัน แต่คำว่า ‘PC’ ที่เราอยากพูดถึงในวันนี้ย่อมาจากคำว่า ‘Political Correctness’ หรือ ‘ความถูกต้องทางการเมือง’ ฟังดูหลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องของการเมืองหรือเปล่า แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่แบบนั้น คำว่า ‘PC’ ในที่นี้คือการหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาหรือพฤติกรรมที่ดูหมิ่นผู้อื่น หรือทำให้ผู้อื่นรู้สึกไม่สบายใจ ซึ่งการใช้ภาษาผู้พูดจะต้องมีความระมัดระวังมากขึ้นเพราะอาจจะไปกระทบความรู้สึกผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะเมื่อเรากำลังพูดในภาษาที่ไม่ใช่ภาษาหลักของเรา ด้วยข้อจำกัดทางด้านภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันทำให้เราเผลอใช้คำที่ไม่เหมาะสมโดยไม่รู้ตัว ถ้าผู้ฟังเข้าใจว่าเราไม่ได้มีเจตนาที่จะดูหมิ่นแต่พูดออกไปด้วยข้อจำกัดด้านภาษาก็ดีไป แต่ถ้าหากผู้ฟังไม่ทราบว่าเรากำลังเรียนรู้การใช้ภาษาใหม่ ๆ ก็อาจทำให้เกิดความไม่พอใจได้ วันนี้ Berlitz จึงอยากจะมาพูดถึงการใช้ภาษาที่มีความ PC กัน
.
ความหมายของ PC ใน Cambridge dictionary กล่าวไว้ว่า ‘The act of avoiding language and actions that could be offensive to the others, especially those relating to sex and race.’ แปลเป็นไทยก็คือ PC คือการเลี่ยงการใช้ภาษาหรือการกระทำที่อาจทำให้คนอื่นขุ่นข้องใจ โดยเฉพาะเรื่องที่อาจเป็นการเหยียดเพศหรือเชื้อชาติ ซึ่งนอกเหนือจากเรื่องเพศและเชื้อชาติแล้วยังรวมไปถึง สีผิว, วัฒนธรรม, ศาสนาหรือรูปลักษณ์ อีกด้วย political correctness (N.) มีหน้าที่เป็นคำนาม แต่ถ้าเป็นคำคุณศัพท์จะใช้คำว่า politically correct (adj.)
.
ในอดีตโลกเราอาจมีชุดคำจำนวนหนึ่งที่เมื่อพูดไปแล้วอาจนำไปสู่การลดทอนความเป็นมนุษย์หรือดูถูกคนอื่น จึงมีการรณรงค์ให้หลีกเลี่ยงการใช้คำหรือการกระทำเหล่านั้นเพราะมันอาจไปกระทบจิตใจ ถึงแม้เจตนาของผู้พูดหรือผู้กระทำอาจจะไม่ได้ตั้งใจให้รู้สึกโดนนดูถูกก็ตาม อย่างเช่นในสังคมอเมริกันปัจจุบันเลิกใช้คำว่า ‘นิโกร (Negro)’ ในการเรียกคนผิวสีเพราะแสดงถึงการเหยียดเชื้อชาติ และหันมาใช้คำว่า ‘แอฟริกัน-อเมริกัน’แทน หรือการใช้คำนำหน้านามที่ระบุถึงสถานะสมรส อย่างเช่นผู้ชายทุกคนก็จะมีคำนำหน้าชื่อว่า Mister (Mr.) ไม่ว่าสถานะแต่งงานจะเป็นอย่างไร แต่ผู้หญิงทุกคนถ้ายังไม่แต่งงานจะมีคำนำหน้าชื่อว่า Miss (Ms.) แต่ถ้าแต่งงานแล้วก็จะเปลี่ยนมาเป็น Misses (Mrs.) แทน แต่ในปัจจุบันถ้าหากเราไม่ทราบสถานะการแต่งงานของผู้หญิง การใช้คำนำหน้าชื่อว่า Miss (Ms.) แก่ผู้หญิงทุกคนก็เป็นคำกลางที่ให้เกียรติมากกว่าโดยไม่ต้องระบุถึงสถานะสมรสแต่อย่างใด และที่สำคัญคือแสดงถึงความเท่าเทียมกันทางเพศระหว่างหญิงและชายอีกด้วย
.
จะเห็นได้ว่าการใช้ภาษาที่ไม่ใช่ภาษาหลักของเรานั้นจะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะด้วยข้อจำกัดทางด้านภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างอาจทำให้เราเผลอพูดคำที่ไม่เหมาะสมออกไปโดยไม่รู้ตัว ทั้งนี้การที่จะพัฒนาทักษะด้านภาษาเพื่อให้มีความ PC นั้น นอกจากหาความรู้ด้วยตัวเองแล้ว การเรียนรู้ผ่านบทสนทนากับชาวต่างชาติและ Native speaker ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยยกระดับการใช้ภาษาของเราได้ ที่ Berlitz เพื่อน ๆ จะได้เรียนภาษากับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเจ้าของภาษา ซึ่งนอกจากผู้เรียนจะได้ฝึกสนทนาในภาษาเป้าหมายตลอดคาบเรียนแล้ว ยังได้รับคำแนะนำการใช้ภาษาให้ถูกหลักและยังเกิดการแลกเปลี่ยนทางด้านวัฒนธรรมอีกด้วย ซึ่งการเรียนภาษาแบบ Berlitz Method ได้รับการยอมรับไปทั่วโลกว่าจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะการใช้ภาษาไปพร้อมกับเรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงและที่สำคัญมีความ ‘PC’ ในเวลาเดียวกันอีกด้วย ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดคอร์สเรียนที่เรานำเสนอได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้ได้เลย
ที่มา: https://workpointtoday.com/political-correctness-comedy/
https://hbr.org/2006/09/rethinking-political-correctness
読み続けて