ベルリッツタイジャーナル

‘Boxing Day’ คือวันอะไร? ทำไมจึงเป็นวันที่สร้างรอยยิ้มให้แก่คนทั่วโลก
ถ้าหากประเทศไทยมีวันไหลของวันสงกรานต์ที่ผู้คนยังเล่นน้ำกันอยู่แม้จะพ้นช่วงเทศกาลมาแล้ว ชาวคริสต์เองก็มีวันไหลของวันคริสต์มาสเช่นกัน โดยรู้จักกันในชื่อว่า ‘Boxing Day’ หรือ ‘วันเปิดกล่องของขวัญ’ ซึ่งตรงกับวันที่ 26 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันที่ผู้คนได้แกะกล่องของขวัญหลังจากฉลองวันคริสต์มาส และยังเปิดโอกาสให้ผู้คนได้ออกเดินทางกลับสู่ภูมิลำเนาหรือออกไปทำกิจกรรมร่วมกันกับคนในครอบครัวอีกด้วย แล้ววันที่น่ายินดีเช่นนี้มีต้นกำเนิดจากไหนกัน? มีหลากหลายข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับที่มาของวัน Boxing Day และยังคงเป็นประเด็นถกเถียงจนถึงทุกวันนี้ถึงความเป็นมาที่แท้จริง แต่ก็ยังไม่มีทฤษฎีไหนได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นจุดกำเนิดที่ผู้คนเริ่มมอบของขวัญให้แก่กัน โดยจุดร่วมเดียวกันของตำนานอันหลากหลายส่วนใหญ่จะมีต้นกำเนิดเทไปทางประเทศสหราชอาณาจักร เนื่องจากวันที่ 26 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันหยุดราชการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1871 แล้ว  บางตำนานเล่าว่าเริ่มต้นขึ้นจากชาวยุโรปในยุคกลาง (คริสต์ศตวรรษที่ 5 – 15) ที่มอบเงินและของขวัญให้แก่ผู้ยากไร้ในช่วงคริสต์มาส หรือบ้างก็ว่ามีที่มาจากประเทศอังกฤษและประเทศในเครือจักรภพช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ซึ่งกำหนดให้วันที่ 26 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันหยุดประจำปี (Bank Holidays) โดยนายจ้างจะแจกกล่องของขวัญให้แก่ลูกจ้างหรือผู้รับใช้เพื่อแทนการของคุณตลอดทั้งปีที่ผ่านมา อีกตำนานหนึ่งซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเทศสหราชอาณาจักรเล่าว่ากษัตริย์เวนเซสลาส...
読み続けて
Hybrid Working คืออะไร? เทรนด์การทำงานยุคใหม่สำหรับ Next Normal
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 กำลังจะเข้าสู่ปีที่สาม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาธุรกิจหลายภาคส่วนล้วนปรับตัวเพื่อให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้บนข้อจำกัดอันท้าทาย การปรับตัวในช่วงแรกของการแพร่ระบาดที่หลายบริษัทเริ่มใช้ก็คือการอนุญาตให้พนักงาน work from home เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ด้วยความที่มาตรการดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้เป็นระยะเวลานานตามสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ทำให้พนักงานหลายคนเกิดความเคยชินในการทำงานนอกออฟฟิศ รวมทั้งบริษัทเองก็พึงพอใจถ้าตราบใดที่ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานไม่ต่างจากการเข้าออฟฟิศ รวมถึงช่วยลดเวลาบนท้องถนนแก่พนักงานและมลภาวะไปพร้อมกัน จนเกิดกระแสใหม่ของการทำงานที่คาดว่าจะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในปี 2022 เรียกว่า ‘Hybrid Working’   อะไรคือ Hybrid Working? Hybrid Working คือการทำงานที่พนักงานสามารถเลือกสถานที่ทำงานได้ตามเนื้องานแต่ละวันระหว่าง co-working space, คาเฟ่, บ้าน, หรือออฟฟิศของบริษัทแทนการทำงานที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวันก่อนยุคโควิด-19 ผลการสำรวจของ IWG (International Workplace Group) ระบุว่า 77% ของพนักงานต้องการสถานที่ทำงานที่ใกล้กับที่พักอาศัย เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ work-life balance...
読み続けて
Metaverse จะทำให้การเรียนภาษาเปลี่ยนไป?
ประเด็นร้อนในโลกออนไลน์ตอนนี้คงหนีไม่พ้นการเปลี่ยนชื่อบริษัทของ Facebook หลังจากที่ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งประกาศในการประชุมประจำปีว่าชื่อบริษัท Facebook ที่ถูกใช้มาอย่างยาวนานกำลังจะถูกเปลี่ยนเป็น ‘Meta’ เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางของบริษัทที่กำลังให้ความสำคัญกับโลก Metaverse มากกว่าโซเชียลมีเดีย  แล้ว Metaverse คืออะไร? เรามาดูความหมายของคำนี้กันก่อน Metaverse เกิดจากการผสมคำระหว่าง ‘Meta’ กับ ‘Universe’ โดย Meta- มีหน้าที่เป็น prefix ความหมายใน Cambridge dictionary กล่าวไว้ว่า ‘outside the normal limit of something’ หรือ ‘สิ่งที่อยู่เหนือขีดจำกัด’ ส่วน Universe แปลว่า ‘จักรวาล’ เมื่อนำสองคำมารวมกันจะแปลได้ก็คือ ‘โลกที่อยู่เหนือความจริง’ แต่สำหรับ Metaverse ในความหมายที่เป็นโปรเจ็คใหญ่ของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก นั้นคือโลกเสมือนจริงที่ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ผ่านตัว Avatar ที่คล้าย ๆ กับการใช้คาแรกเตอร์ในเกมส์แต่เราสามารถควบคุมตัวละครของเราได้ใกล้เคียงกับความจริงมากที่สุดและยังสามารถประชุมงาน ท่องเที่ยว หรือสังสรรค์ไปกับเพื่อนของเราผ่านระบบ VR (Virtual reality) และ AR (Augmented reality) ถึงแม้ว่าผู้ใช้งานแต่ละคนจะอยู่กันคนละที่ก็ตาม  ฟังดูแล้วการใช้งานบนโลกเสมือนจริงน่าจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษย์ในอนาคตได้ไม่มากก็น้อย เห็นได้จากกิจกรรมในยุคโควิด-19 เราต้องประชุมงานกันผ่านทางระบบออนไลน์หรือบางคนไม่สามารถออกไปสังสรรค์กับเพื่อนได้ ก็เลือกที่จะเปิดกล้องวิดิโอคอลแล้วรับประทานอาหารไปพร้อมกันผ่านทางหน้าจอแทน ซึ่ง Metaverse จะช่วยให้อุปสรรคในด้านการเดินทางหายไป การประชุมงานผ่านระบบออนไลน์จะไม่มีหน้าจอมาขวางกั้น เราสามารถนั่งพูดคุยกันจากที่บ้านได้เสมือนจริง ทำให้สามารถสัมผัสได้ถึงอากัปกิริยาและน้ำเสียงของคู่สนทนาได้มากขึ้น  คุณประโยชน์ของ Metaverse ซึ่งคาดว่าจะถูกนำไปใช้ในการทำงานและสังสรรค์แล้ว อีกหนึ่งกิจกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์จากโลกเสมือนจริงนี้ได้นั่นก็คือการศึกษา ทุกวันนี้นักเรียนหลายคนสามารถเรียนผ่านระบบออนไลน์ได้ก็จริง แต่การใช้ประโยชน์จาก Metaverse อาจจะช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพราะผู้สอนจะมีอุปกรณ์และสื่อในการสอนแบบไม่จำกัด ผู้เรียนเองก็จะได้รับประโยชน์จากกิจกรรมที่หลากหลายมากกว่าการเรียนผ่านสื่ออย่างหนังสือเรียน  ปัจจุบันที่ Berlitz เรามีคอร์สออนไลน์สดที่ผู้เรียนสามารถเรียนภาษากับอาจารย์เจ้าของภาษาได้จากที่บ้าน  ซึ่งนอกจากมอบความสะดวกสบายให้กับผู้เรียนแล้ว การเรียนออนไลน์ผ่านโปรแกรม Newrow ที่ Berlitz จะช่วยเปลี่ยนห้องของคุณให้กลายเป็น Virtual Classroom ที่อาจารย์ผู้สอนจะสามารถใช้สื่อการเรียนที่หลากหลายมากกว่าเห็นหน้ากันและแชร์หน้าจอ  แต่เราลองจินตนาการว่าถ้าหากในอนาคต Metaverse ได้ถูกพัฒนาขึ้นจะส่งผลต่อการเรียนภาษามากน้อยขนาดไหน การเรียนภาษาออนไลน์สดแบบไม่มีหน้าจอมาขวางกั้น เราสามารถเห็นอากัปกิริยาของครูเจ้าของภาษาไปพร้อมกับการออกเสียงที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น หรือบางทีอาจารย์เจ้าของภาษาอาจจะพาผู้เรียนไปยังประเทศบ้านเกิดของเขา เพื่อให้เราเรียนรู้วัฒนธรรมและยังได้ท่องเที่ยวในโลกเสมือนจริงพร้อมกับการเรียนภาษาอีกด้วย ถึงแม้ว่าโดยปกติแล้วการเรียนภาษาที่ Berlitz ผู้เรียนจะได้สนทนาภาษาเป้าหมายกับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเจ้าของภาษาตลอดคาบเรียนพร้อมไปกับการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเปรียบเสมือนอยู่ในประเทศที่ใช้ภาษาเป้าหมายอยู่แล้ว แต่ถ้าในอนาคตเราสามารถเรียนภาษาฝรั่งเศสกับอาจารย์เจ้าของภาษาขณะที่เยี่ยมชมหอไอเฟล หรือดื่ม Afternoon tea กับอาจารย์ชาวอังกฤษที่ถนนอ็อกฟอร์ด ในกรุงลอนดอนเสมือนจริง น่าจะทำให้การเรียนภาษาใหม่ ๆ น่าตื่นเต้นมากกว่าเดิมใช่ไหมคะ   แค่คิดก็น่าสนุกแล้วว่า Metaverse จะเข้ามาเปลี่ยนการเรียนภาษามากน้อยเพียงใด...
読み続けて
Political Correctness หรือ ‘PC’ คืออะไร? ทำไมจึงมีความสำคัญกับการเรียนภาษา
‘PC’ ในบริบทของคนทั่วไปอาจจะเข้าใจว่าหมายถึง ‘personal computer’ หรือ ‘คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล’ ที่เราใช้งานกันในชีวิตประจำวัน แต่คำว่า ‘PC’ ที่เราอยากพูดถึงในวันนี้ย่อมาจากคำว่า ‘Political Correctness’ หรือ ‘ความถูกต้องทางการเมือง’ ฟังดูหลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องของการเมืองหรือเปล่า แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่แบบนั้น คำว่า ‘PC’ ในที่นี้คือการหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาหรือพฤติกรรมที่ดูหมิ่นผู้อื่น หรือทำให้ผู้อื่นรู้สึกไม่สบายใจ ซึ่งการใช้ภาษาผู้พูดจะต้องมีความระมัดระวังมากขึ้นเพราะอาจจะไปกระทบความรู้สึกผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะเมื่อเรากำลังพูดในภาษาที่ไม่ใช่ภาษาหลักของเรา ด้วยข้อจำกัดทางด้านภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันทำให้เราเผลอใช้คำที่ไม่เหมาะสมโดยไม่รู้ตัว ถ้าผู้ฟังเข้าใจว่าเราไม่ได้มีเจตนาที่จะดูหมิ่นแต่พูดออกไปด้วยข้อจำกัดด้านภาษาก็ดีไป แต่ถ้าหากผู้ฟังไม่ทราบว่าเรากำลังเรียนรู้การใช้ภาษาใหม่ ๆ ก็อาจทำให้เกิดความไม่พอใจได้ วันนี้ Berlitz จึงอยากจะมาพูดถึงการใช้ภาษาที่มีความ PC กัน .  ความหมายของ PC ใน Cambridge dictionary กล่าวไว้ว่า ‘The act of avoiding language and actions that could be offensive to the others, especially those relating to sex and race.’ แปลเป็นไทยก็คือ PC คือการเลี่ยงการใช้ภาษาหรือการกระทำที่อาจทำให้คนอื่นขุ่นข้องใจ โดยเฉพาะเรื่องที่อาจเป็นการเหยียดเพศหรือเชื้อชาติ ซึ่งนอกเหนือจากเรื่องเพศและเชื้อชาติแล้วยังรวมไปถึง สีผิว, วัฒนธรรม, ศาสนาหรือรูปลักษณ์ อีกด้วย political correctness (N.) มีหน้าที่เป็นคำนาม แต่ถ้าเป็นคำคุณศัพท์จะใช้คำว่า politically correct (adj.)  .  ในอดีตโลกเราอาจมีชุดคำจำนวนหนึ่งที่เมื่อพูดไปแล้วอาจนำไปสู่การลดทอนความเป็นมนุษย์หรือดูถูกคนอื่น จึงมีการรณรงค์ให้หลีกเลี่ยงการใช้คำหรือการกระทำเหล่านั้นเพราะมันอาจไปกระทบจิตใจ ถึงแม้เจตนาของผู้พูดหรือผู้กระทำอาจจะไม่ได้ตั้งใจให้รู้สึกโดนนดูถูกก็ตาม อย่างเช่นในสังคมอเมริกันปัจจุบันเลิกใช้คำว่า ‘นิโกร (Negro)’ ในการเรียกคนผิวสีเพราะแสดงถึงการเหยียดเชื้อชาติ และหันมาใช้คำว่า ‘แอฟริกัน-อเมริกัน’แทน หรือการใช้คำนำหน้านามที่ระบุถึงสถานะสมรส อย่างเช่นผู้ชายทุกคนก็จะมีคำนำหน้าชื่อว่า Mister (Mr.) ไม่ว่าสถานะแต่งงานจะเป็นอย่างไร แต่ผู้หญิงทุกคนถ้ายังไม่แต่งงานจะมีคำนำหน้าชื่อว่า Miss (Ms.) แต่ถ้าแต่งงานแล้วก็จะเปลี่ยนมาเป็น Misses (Mrs.) แทน แต่ในปัจจุบันถ้าหากเราไม่ทราบสถานะการแต่งงานของผู้หญิง การใช้คำนำหน้าชื่อว่า Miss (Ms.) แก่ผู้หญิงทุกคนก็เป็นคำกลางที่ให้เกียรติมากกว่าโดยไม่ต้องระบุถึงสถานะสมรสแต่อย่างใด และที่สำคัญคือแสดงถึงความเท่าเทียมกันทางเพศระหว่างหญิงและชายอีกด้วย  .  จะเห็นได้ว่าการใช้ภาษาที่ไม่ใช่ภาษาหลักของเรานั้นจะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะด้วยข้อจำกัดทางด้านภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างอาจทำให้เราเผลอพูดคำที่ไม่เหมาะสมออกไปโดยไม่รู้ตัว ทั้งนี้การที่จะพัฒนาทักษะด้านภาษาเพื่อให้มีความ PC นั้น นอกจากหาความรู้ด้วยตัวเองแล้ว การเรียนรู้ผ่านบทสนทนากับชาวต่างชาติและ Native speaker ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยยกระดับการใช้ภาษาของเราได้ ที่ Berlitz เพื่อน ๆ จะได้เรียนภาษากับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเจ้าของภาษา ซึ่งนอกจากผู้เรียนจะได้ฝึกสนทนาในภาษาเป้าหมายตลอดคาบเรียนแล้ว ยังได้รับคำแนะนำการใช้ภาษาให้ถูกหลักและยังเกิดการแลกเปลี่ยนทางด้านวัฒนธรรมอีกด้วย ซึ่งการเรียนภาษาแบบ Berlitz Method ได้รับการยอมรับไปทั่วโลกว่าจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะการใช้ภาษาไปพร้อมกับเรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงและที่สำคัญมีความ ‘PC’ ในเวลาเดียวกันอีกด้วย ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดคอร์สเรียนที่เรานำเสนอได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้ได้เลย ที่มา: https://workpointtoday.com/political-correctness-comedy/ https://hbr.org/2006/09/rethinking-political-correctness
読み続けて
วันสหประชาชาติคือวันอะไร? เราในฐานะของประชากรโลกจะร่วมมีบทบาทอย่างไร?
เป็นเวลากว่า 76 ปีแล้วนับตั้งแต่องค์การสหประชาชาติหรือยูเอ็น (United Nations: UN) ได้ถูกสถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการ ถ้าจะให้เปรียบเทียบกับมนุษย์ ก็เกือบเท่ากับอายุขัยของคน ๆ หนึ่งเลยทีเดียว เพียงแต่บทบาทและหน้าที่ของยูเอ็นนั้นเดินทางสวนทางกับร่างกายสิ่งมีชีวิตที่มีอายุมากขึ้น ถึงแม้จะเข้าสู่ปีที่ 76 แต่วัตถุประสงค์ที่จะนำสันติภาพมาสู่โลกของยูเอ็นกลับไม่เคยเสื่อมคลาย วันนี้เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองแด่วันสหประชาชาติ Berlitz จะขออาสาเล่าเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับยูเอ็นให้เพื่อน ๆ ได้ฟังกันค่ะ  ก่อนหน้าที่ UN จะถูกจัดตั้ง โลกเราเคยมีองค์การระหว่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์เพื่อธำรงรักษาสันติภาพให้แก่โลกเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้ เรียกว่า ‘องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations)’ แต่เพราะการเกิดขึ้นของสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้องค์การดังกล่าวถูกมองว่าไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองจบลง แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ (Franklin D. Roosevelt) ประธานธิบดีคนที่ 32 ของสหรัฐอเมริกาและวินสตัน เชอร์ชิลล์ (winston churchill) นายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร จึงมีแนวคิดที่จะจัดตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้นทดแทนองค์การสันนิบาตชาติที่ไม่มีกองกำลังทหารและอำนาจในการยับยั้งข้อพิพาทระหว่างประเทศ  วันสหประชาชาติถูกกำหนดให้ตรงกับวันที่ 24 ตุลาคมของทุกปี เนื่องจากเป็นวันที่กฎบัตรสหประชาชาติ (Charter of the United Nations) มีผลบังคับใช้เมื่อปี ค.ศ.1945 โดยมีภารกิจตั้งอยู่บน 3 เสาหลักคือ  ด้านสิทธิมนุษยชน  ด้านสันติภาพและความมั่นคง  การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ  ประเทศสมาชิกเริ่มต้นที่ร่วมลงนามในกฎบัตรสหประชาชาติมีทั้งหมด 51 ประเทศ ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ ประเทศไทยเราเข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิกลำดับที่ 55 เมื่อปี ค.ศ.1946 สำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติตั้งอยู่ที่นครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา เลขาธิการสหประชาชาติคนปัจจุบันคือ นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส ชาวโปรตุเกส  องค์กรหลักของสหประชาชาติประกอบด้วย 6 องค์กร ได้แก่  สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ (General Assembly)  คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ  คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Council)  คณะมนตรีภาวะทรัสตี (Trusteeship Council)  สำนักงานเลขาธิการสหประชาชาติ (The Secretariat)  ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice)  ส่วนภาษาที่ถูกกำหนดให้ใช้อย่างเป็นทางการในองค์การสหประชาชาติมีอยู่ด้วยกันถึง 6 ภาษาคือ อังกฤษ, ฝรั่งเศส, สเปน, รัสเซีย, จีน, และอาหรับ โดยภาษาอาหรับเป็นภาษาล่าสุดที่ถูกบรรจุให้เป็นภาษาทางการเมื่อปี ค.ศ.1973   สำหรับเพื่อน ๆ คนไหนที่มีความฝันอยากทำงานในองค์กรระหว่างประเทศ จะเห็นได้ว่าการเรียนภาษาที่สามนั้นมีความสำคัญมาก เพราะนอกจากภาษาอังกฤษแล้ว ก็มีภาษาอื่น ๆ ที่ถูกใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งผู้ที่มีความสามารถด้านภาษาที่หลากหลาย จะมีความได้เปรียบในการทำงาน เพราะฉะนั้นการเรียนภาษา โดยเฉพาะการฝึกสนทนากับเจ้าของภาษาที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจการใช้ภาษาและวัฒนธรรมได้อย่างถูกต้องตามบริบทรวดเร็วมากยิ่งขึ้น การเรียนภาษาที่ Berlitz อาจารย์เจ้าของภาษาจะใช้วิธีการสอนผ่านบทสนทนาที่นำเสนอคำศัพท์และไวยากรณ์ที่ใช้ได้จริงด้วยวิธีเฉพาะแบบ Berlitz (Berlitz Method) ทำให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะได้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย เพื่อน ๆ สามารถค้นหาคอร์สเรียนภาษาที่ Berlitz มีให้บริการด้านล่างได้เลยค่ะ 
読み続けて